การรักษาผึ้งบำบัด

ในการรักษาด้วยผึ้งบำบัด จะมี 3 ประเภท

1.การใช้เหล็กไนของผึ้งมาต่อยรักษาโดยตรง แบ่งเป็น 2ลักษณะ

1.1 ต่อยตรงจุดกดเจ็บ (Trigger points)

จุดกดเจ็บ หมายถึง จุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ เล็ก ๆ ยังคงไม่สลายไป มีอาการเจ็บปวดมากที่สุด การหาจุดกดเจ็บทำได้โดยการใช้นิ้วมือคลำดูบริเวณที่มีอาการแล้วค่อยกดลงที่ละจุด ถามผู้ป่วยว่าเจ็บมากไหม ถ้าผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บมาก หรือบอกว่าเจ็บ แสดงว่าเป็นจุดที่มีปัญหา ซึ่งนิยมต่อยผึ้งทั้งตัวบริเวณจุดนี้ เช่นกลุ่มอาการปวดต่างๆ ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว ปวดขา ไมเกรน รูมาตอยด์ เกาต์ ฯลฯ

1.2 ต่อยตามจุดบนเส้นลมปราณ

การต่อยผึ้งตามจุดบนเส้นลมปราณ ใช้หลักการต่อยเหล็กในผึ้งลงบนจุดที่ใช้ในการฝังเข็มคล้ายๆกับการฝังเข็มแต่เปลี่ยนจากเข็มเหล็กมาเป็นเข็มเหล็กในผึ้ง โดยจะให้สรรพคุณเหมือนกับการฝังเข็มแต่ในเหล็กในผึ้งยังมีพิษผึ้งซึ่งจะช่วยในการบำบัดได้ต่อเนื่องกว่าการฝังเข็ม เช่น ไมเกรน รูมาตอยด์

2.การใช้พิษแห้ง

ในการรักษาโดยการใช้พิษแห้งจะใช้หลังจากการต่อยผึ้งหรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่ประสงค์ต่อยผึ้ง วิธีการใช้พิษแห้งเราจะใช้ร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการผลักพิษแห้งเข้าไปช่วยบรรเทาหรือรักษาบริเวณที่มีอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดส้นเท้า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ เป็นต้น

3.การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งหรือยางผึ้ง

การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งจะใช้ในการรักษาหลังจากต่อยผึ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการรักษามากขึ้น มักจะใช้รักษากับโรคต่างๆ เช่น การต่อยเลิกบุหรี่ ปวดข้อศอก ปวดส้นเท้า ต่อมน้ำลายอักเสบ เป็นต้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *